คู่มือการปลูกพืชกระท่อม สำหรับลูกไร่ โครงการปลูกพืชกระท่อม 3,000 ไร่
จัดทำโดย ไร่กระท่อม.com ร่วมกับ ชมรมภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน (ชพช.)
ขอบคุณภาพถ่าย : จาก คุณ เกศรินทร์ ลูกไร่กระท่อม จ.นครราชสีมา ที่ปลูกลงดินเพียง 1 เดือน สูง 40-50 ซม. ใบใหญ่สมบูรณ์มาก
———————————————————————-
“กระท่อม” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบคล้ายใบกระดังงา มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินี เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง ในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์แตงกวา พันธุ์ยักษาใหญ่และพันธุ์ก้านแดง พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และยังพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น อีด่าง อีแดง กระอ่วม ท่อมหรือทุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขอบคุณภาพถ่าย : ต้นกระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบคล้ายใบกระดังงา
“กระท่อม” เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง แก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง ลาต้นมีความสูงประมาณ 4-16 เมตร ใบกระท่อมคล้ายใบกระดังงา เป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบกระท่อมกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ดอกกระท่อมมีลักษณะกลมโต ขนาดเท่าผลพุทรา มีสีขาวอม เหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นแคปซูล ภายในมีผลย่อยและเมล็ดอัดแน่น ส่วนเมล็ดกระท่อมมีลักษณะแบน
———————————————————————-
สายพันธุ์กระท่อม 3 สายพันธุ์
“กระท่อม” ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ กระท่อมพันธุ์แตงกวา (ก้านเขียว) กระท่อมพันธุ์ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และ กระท่อมพันธุ์ก้านแดง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น ในประเทศไทย ภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้ เรียกท่อม หรือท่ม ในมลายูเรียกคูทุม (Kutum) หรือ คีทุมเบีย (Ketum Bia) หรือ เบียก (Biak) ลาวเรียกไนทุม (Neithum) อินโดจีน เรียกโคดาม (Kodam)
ขอบคุณภาพถ่าย : ชนิดก้านใบสีแดง (กระท่อมพันธุ์ก้านแดง)
ขอบคุณภาพถ่าย : ชนิดก้านใบสีเขียว (กระท่อมพันธุ์แตงกวา)
ขอบคุณภาพถ่าย : ชนิดก้านใบหยัก (ยักษ์ใหญ่, หางกั้ง)
———————————————————————-
“จากงานวิจัย” พบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- ช่วยรักษาอาการไอ
- ช่วยลดการหลั่งกรด
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
- ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
- แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
- แก้ปวดฟัน
- ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
- แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
- ช่วยให้ทำงาน ทนไม่หิวง่าย
- ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
- นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้
- ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
-
———————————————————————-
1. ตลาดต่างประเทศ
- ตลาดกระท่อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้เพื่อช่วยรักษาโรคซึมเศร้า, บำบัดยาเสพติด, เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระท่อมมีจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น อาหารเสริม ยาดม ชา เป็นต้น ขณะที่ ประเทศอินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่มีการส่งออกกระท่อมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่บอกว่าเมล็ดมาจากประเทศไทย รวมถึงแบรนด์ก็ใช้ชื่อไทย อย่างเช่น แบรนด์ แมงดา ที่ทำรายได้จากการส่งออกกระท่อมไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี
2. ตลาดในประเทศ
- พืชกระท่อมให้เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เซียงเพียวอิ๊ว ที่จะผลิตเป็น ยาดมใบกระท่อม, สมูทอี ที่จะผลิตเป็นครีมชูกำลัง รวมถึงบริษัทเครื่องดื่ม ที่จะผลิตน้ำกระท่อมชูกำลัง และบริษัทขายตรงอีกรายที่จะผลิตสินค้าเกี่ยวกับพืชกระท่อม เป็นต้น โดยรูปแบบการทำธุรกิจจะเป็นแบบ B2B เพราะเน้นเป็นธุรกิจอาหาร ซึ่งจากการรุกตลาดพืชกระท่อมครั้งนี้เชื่อว่าในปี 2565 บริษัทจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท ส่วนปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 50%
- พืชกระท่อมถือเป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นการต่อยอดเสริมไปสู่กลุ่มสินค้าประเภทต่าง ๆ เช่น หากเข้าไปเสริมในกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง เพียงแค่ 25% ก็มีมูลค่านับหมื่นล้านบาทแล้ว แต่หากคิดเฉพาะต้นน้ำจริง ๆ ปัจจุบันเรา เว็บไซต์ ไร่กระท่อม.com ร่วมกับ ชมรมภาคเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน (ชพช.) รับซื้อใบกระท่อมที่กิโลกรัมละ 150 บาท รับประกันราคา นานสูงสุด 10 ปี ซึ่งเรามีอยู่แล้ว 150 ตัน และหลังจาก ปลดล็อกพืชกระท่อมไปแล้ว เชื่อว่าในปี 2565 คาดว่าจะมีพืชใบกระท่อมไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท โดยทาง เว็บไซต์ ไร่กระท่อม.com ร่วมกับ ชมรมภาคเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน (ชพช.) พร้อมรับซื้ออย่างต่อเนื่อง และพร้อมเป็นตัวแทนจากพันธมิตรในการส่งออกสินค้าที่ผลิตจากใบกระท่อมไปยังสหรัฐอเมริกาทั้งหมด เนื่องจากมีช่องทางจำหน่ายอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกา
- ลดต้นทุน การผลิตยาแก้ปวดจากมอร์ฟีน มีมูลค่าทางการตลาดกว่า 5 แสนล้านบาท/ปี โดยใบกระท่อมมีสารระงับปวด เช่นเดียวกับมอร์ฟีนแต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
———————————————————————-
1. ต้นกล้าเพาะเมล็ด
ขอบคุณภาพถ่าย : ต้นพันธุ์กระท่อมแบบต้นกล้าเพาะเมล็ด
2. แบบเสียบยอด
ขอบคุณภาพถ่าย : ต้นพันธุ์กระท่อมแบบเสียบยอด
3. แบบติดตา
ขอบคุณภาพถ่าย : ต้นพันธุ์กระท่อมแบบติดตา
4. แบบตอนกิ่ง
ขอบคุณภาพถ่าย : ต้นพันธุ์กระท่อมแบบตอนกิ่ง
5. แบบชำราก
ขอบคุณภาพถ่าย : ต้นพันธุ์กระท่อมแบบชำราก
———————————————————————-
ระยะแปลงปลูก
ภาพแสดงประกอบ : ระยะแปลงปลูก
“จำลองเนื้อที่ 1 ไร่” แสดงในการปลูก ต้นกระท่อม ระยะห่างต่อต้น 4×4 เมตร จะได้ต้นกระท่อม = 100 ต้น/ไร่
———————————————————————-
“การขุดหลุมปลูกกระท่อม” ให้ขุดด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบตลอดแนว โดยแยกดินที่ขุดเป็น 2 กอง คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง ผึ่งแดดไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ดินแห้ง แล้วย่อยดินชั้นบนใส่รองก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่าง ในหลุมปลูกกระท่อมใหม่ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้นละ 5 กก. ผสมกับปุ๋ยชีวภาพและตัวช่วยเสริมความแข็งแรงให้รากและเร่งการเจริญเติบโต รองก้นหลุม แล้วกลบหลุม ขนาดของหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ( กว้าง x ยาว x ลึก )
เตรียมดินขนาดขุดหลุมปลูกต้นกระท่อม
ขอบคุณภาพถ่าย : เตรียมดินขนาดขุดหลุมปลูก
ขนาดระยะแปลงปลูกต้นกระท่อม
ขอบคุณภาพถ่าย : ขนาดระยะแปลงปลูกต้นกระท่อม
———————————————————————-
1. ระบบสปริงเกอร์
- ระบบสปริงเกอร์ คือ การออกแบบระบบสปริงเกอร์ การคำนวณหาขนาดท่อส่งน้ำและเครื่องสูบน้ำในระบบท่อ PE พื้นที่ 1 ไร่ ปัญหาหลักของเกษตรในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำและระบบน้ำนั้นมีให้เห็นอยู่ประจำ เช่นติดตั้งระบบท่อไปแล้วแต่เลือกซื้อเครื่องสูบน้ำมามีขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายระบบน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่การทำเกษตรได้ หรือการจ่ายน้ำไม่ครอบคลุมทั่วถึงจุดที่ปลูกพืช ในความเป็นจริงแล้วการที่เกษตรกรจะติดตั้งระบบน้ำเพื่อให้ประหยัดและได้ประสิทธิภาพในการใช้งานจริงนั้นต้องมีการออกแบบระบบโดย ผู้ชำนาญการหรือมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบน้ำ ในที่นี้จะทำการออกแบบระบบน้ำทางการเกษตรเพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรผู้สนใจติดตั้งระบบด้วยตนเอง ซึ่งขอกล่าวว่าจะไม่ตรงกับสูตรคำนวณระบบน้ำในทางวิชาการมากนัก เนื่องจากเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อนมากเกินความต้องการของเกษตรกร
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
จากภาพ
- แปลงเกษตรขนาดพื้นที่ 1 ไร่ (กว้าง 40 x ยาว 40 เมตร) เป็นแปลงเกษตรแบบยกร่องแปลงขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 36 เมตร ยกสูงจากพื้นระดับ 0.3 เมตร จำนวน 8 แปลง
- ใช้หัวจ่ายแบบ สเปร์ย 3,600 ติดตั้งบนจุดขาปัก สูง 40 เซนติเมตร อัตราการจ่ายปริมาณน้ำ 100 ลิตร/ชั่วโมง ที่แรงดันใช้งานที่หัวจ่าย 1.5 บาร์ รัศมีน้ำ 1.5-2 เมตร ติดตั้งทุก ๆ ระยะ 2 เมตรตลอด ท่อจ่าย PE ความยาว 20 เมตร
- พื้นที่เกษตรอยู่ใกล้จากจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำเป็นระยะทาง 10 เมตร
- แหล่งน้ำเป็นแท้งขนาดความจุ 7.85 ลบ.เมตร จำนวน 2 แท้ง รวม 15.7 ลบ.เมตร ท่อจ่ายน้ำอยู่ระดับเดียวกันกับแปลงเกษตร สมการการคำนวณเพื่อออกแบบหาขนาดของท่อน้ำและเครื่องสูบน้ำทางการเกษตร
- 4.(1) F = 0.33+(0.5/N)+(0.17/N2 ) , F คือ ค่าตัวคูณลดของระบบท่อจ่าย
- 4.(2) H = H0 / F, H คือ การสูญเสียพลังงานเนื่องจากอัตราการไหลในเส้นท่อ H0 คือ การสูญเสียพลังงานเนื่องจากการไหลในเส้นท่อ กำหนดเป็นค่าคงที่ = 4 เมตร/100 เมตร หรือ 0.04
- 4.(3) Q = Q0 x N , Q คือ ปริมาณการไหลในเส้นท่อ , Q0 คือ ปริมาณการไหลที่หัวจ่าย N คือ จำนวนหัวจ่ายหรือท่อแยกที่ติดตั้งในเส้นท่อ
- 4.(4) HL = H/L, HL คือ การการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อ , L คือความยาวตลอดเส้นท่อ
- 4.(5) H = FxHxL , H คือ การสูญเสียรวมของพลังงานเนื่องจากอัตราการไหลในเส้นท่อ
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
การคำนวณหาขนาดท่อในเส้น 1-1
- หัวจ่ายน้ำแบบสเปร์ย 3600 (Q0)= อัตราการจ่ายน้ำ 100 L/Hr รัศมี 1.5-2 เมตร แรงดันที่หัวจ่าย (P) =1.5 บาร์
- ท่อแยกมีท่อจ่ายน้ำเป็นท่อ PE (L1) = ความยาว 20 เมตร
- ท่อจ่ายเป็นท่อไมโคร PE ขนาด 7 มิลลิเมตร ความสูงจากพื้น 0.5 เมตร ติดตั้งทุกๆ ระยะ 4 เมตรของท่อแยก
- จำนวนหัวจ่ายที่ติดตั้งบนท่อแยก (N1) = 5 หัวจ่าย
- H0 คือ การสูญเสียพลังงานเนื่องจากการไหลในเส้นท่อ กำหนดเป็นค่าคงที่ = 4 เมตร / 100 เมตร เพื่อต้องการที่จะให้แรงดันที่หัวจ่ายหัวที่ 1 และหัวจ่ายที่ 5 ต่างกันไม่เกิน 20%
- 5.(1) F1= 0.33+(0.5/N)+(0.17/N2 )= 0.33+(0.5/5)+(0.17/102 ), = 0.33+0.01+0.0017 = 0.3417
- 5.(2) H1 = H0 / F1 = 4/0.3417 = 11.70 m ดังนั้นจากการคำนวณเราจะได้การสูญเสียในเส้นท่อที่ 1-1 เป็น11.70 เมตร หรือประมาณ 1 บาร์
- 5.(3) Q1 = Q0 x N1= 100 x 5 = 500 ลิตร/ชั่วโมง = 0.5 ลบ.เมตร/ชั่วโมง ดังนั้นจากการคำนวณเราจะได้ปริมาณการไหลในเส้นท่อที่ 1-1 เป็น 0.5 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง
- 5.(4) HL1< H1 / L1 = 10.47/20 = 0.5235 และมีการการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อเท่ากับ 0.5235 หรือประมาณ 50 เมตร / 100 เมตร จากข้อมูลข้างต้นในข้อ (3) และ (4) เป็นข้อกำหนดตัวเลขที่จะนำไปหาขนาดของท่อจากกราฟที่ ต้องการโดยกำหนดดังนี้
- ความเร็วของการไหลในเส้นท่อที่เลือกไม่เกิน 1.5 เมตร/วินาที
- มีการการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อที่เลือกต้องน้อยกว่า 0.50 หรือ 50/100
- มีอัตราการจ่ายน้ำในเส้นท่อที่เลือกมากกว่า 0.5 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง ในที่ นี้เราจะใช้กราฟอัตราการไหลในเส้นท่อ PVC มาใช้ซึ่งค่าที่ได้มีความใกล้เคียงกับท่อ PE และ อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
จากภาพกราฟ จะเห็นได้ว่า
- ที่การการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อต้องน้อยกว่า 0.5 หรือ 50/100 และมีอัตราการจ่ายน้ำมากกว่า 1 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง จะได้ท่อขนาด 20 มิลลิเมตร แต่ความเร็วในเส้นท่ออยู่ที่ประมาณ 1.25 เมตร/วินาทีซึ่งอยู่ในค่าที่กำหนดคือต้องน้อยกว่า 1.5เมตร/วินาที การสูญเสียในเส้นท่อ 8m/100m จึงเลือก ท่อขนาด PE 20mm
- ที่การการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อต้องน้อยกว่า 0.5 หรือ 50/100 และมีอัตราการจ่ายน้ำมากกว่า 1 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง จะได้ท่อขนาด 25mm แต่ความเร็วในเส้นท่ออยู่ที่ประมาณ 0.75เมตร/วินาทีซึ่งอยู่ในค่าที่กำหนดคือน้อยกว่า1.5เมตร/วินาที การสูญเสียในเส้นท่อ 3m/100m ดังนั้นจึงเลือกท่อที่จุด 1-1 เป็นท่อ PE ขนาด 25mm จากการพิจารณาใน ข้อ 1 และ 2 เลือกเส้นท่อที่อยู่ในเกณฑ์ตัดสินใจมีขนาด 20mm และ 25mm เมื่อเข้าเกณฑ์ ทั้งคู่เราจึงเลือกท่อ PE ขนาด 20mm เนื่องจากราคาถูกกว่าและใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ จากกราฟ การเลือกเส้นท่อขนาด 1 นิ้ว ทำให้มีการปรับค่า HL1=8m/100 m=0.08
- 5.(5) H1 = F1x HL1x L1= 0.3817 x 0.08×20 = 0.61
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
การคำนวณหาขนาดท่อในเส้น 2-2
ในเส้นท่อแยกที่รับน้ำจากจากท่อเมนนี้มีลักษณะการจ่ายน้ำออก 2 ด้านเท่าๆ กัน ในที่นี้เราจะใช้ท่อที่จุด 2-2 ท่อเมนและท่อแยกในเส้นเดียวกัน โดยมีข้อกำหนดว่า
- ปริมาณการจ่ายน้ำ Q1=1,000 ลิตร/ชั่วโมง = 1 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง ต่อ 1 จุดจ่ายน้ำ
- ท่อแยกเป็นท่อ PVC (L2) = ความยาว 40 เมตร
- ท่อจ่ายเป็นท่อ PE ขนาด 20mm ติดตั้งทุกๆระยะ 5 เมตรของท่อแยก
- จำนวนจุดจ่าย N2 ที่ติดตั้งบนท่อแยก (2-2) = 16 จุดจ่าย
- H0 คือ การสูญเสียพลังงานเนื่องจากการไหลในเส้นท่อ เป็นค่าคงที่ = 4เมตร เพื่อต้องการที่จะไม่ให้แรงดันที่จุดจ่ายที่ 1 และจุดจ่ายที่ 8 ต่างกันไม่เกิน 20% แต่ในจุดที่ 2-2 H1=H0 – H1 = 4-H1 = 4 -0.61 =3.39
- 5.(1) F2= 0.33+(0.5/ N2)+(0.17/ N22 )= 0.33+(0.5/16)+(0.17/162 ) = 0.33+0.031+0.00066 = 0.361
- 5.(2) H2 = H1 /F2 = 3.39/0.361 = 9.39
- 5.(3) Q2 = Q1 x N2 = 1,000 ลิตร/ชั่วโมง x 16 = 16,000 ลิตร/ชั่วโมง = 16 ลบ.เมตร/ชั่วโมง
- 5.(4) HL2< H2 / L2 = 9.39/40 = 0.234
จากข้อมูลข้างต้นในข้อ (3) และ (4) เป็นข้อกำหนดตัวเลขที่จะนำไปหาขนาดของท่อที่ต้องการโดยกำหนดดังนี้
- ความเร็วของการไหลในเส้นท่อที่เลือกไม่เกิน 1.5 เมตร/วินาที
- มีการการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อที่เลือกต้องน้อยกว่า 0.234 หรือ 23m/100m
- มีอัตราการจ่ายน้ำในเส้นท่อที่เลือกมากกว่า 16 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
จากภาพกราฟ จะเห็นได้ว่า
- ที่การการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อต้องน้อยกว่า 0.234 หรือ 23m/100m และมีอัตราการจ่ายน้ำมากกว่า 16 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง จะได้ท่อขนาด 2 ½ นิ้ว ที่ความเร็วในเส้นท่ออยู่ที่ประมาณ 1.3เมตร/วินาที ดังนั้น จึงเลือกท่อที่จุด 2-2 เป็นท่อ PVCขนาด 2 ½ นิ้ว
- อีกหนึ่งตัวเลือกที่เข้าเกณฑ์ข้อกำหนดคือท่อขนาด 3 นิ้ว ที่การการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อต้องน้อยกว่า 0.234 หรือ 23m/100m และมีอัตราการจ่ายน้ำที่ 25 ลูกบาตรเมตร/ชั่วโมง ความเร็วในเส้นท่ออยู่ที่ประมาณ 1 เมตร/วินาที แต่ทั้งนี้ก็ด้วยเรื่องราคาค่าท่อ ซึ่งเมื่อเทียบกับท่อขนาด 2 ½ นิ้วจึงไม่เลือกจากกราฟการเลือกเส้นท่อขนาด 2 ½ นิ้ว ทำให้มีการปรับค่า HL2=2.6m/100 m=0.026
- 5.(5) H2 = F2x HL2x L2= 0.361x 0.026×40 = 0.375 m โดยข้อมูลข้างต้นนี้จะสามารถคำนวณหาแรงดันต่างระหว่างในท่อ PE ที่หัวสเปร์ย จุดตัวที่อยู่ใกล้ต้นทาง ที่สุดและตัวที่อยู่ห่างที่สุดได้เพื่อตรวจสอบว่าเงื่อนไขยังอยู่ในเกณฑ์กำหนดหรือไม่ Hsp.=H1+H2 =0.61+0.375 = 0.985 m = 0.098 bar ซึ่งตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าข้อกำหนดและการเลือกขนาดท่อยังอยู่ในเกณฑ์กำหนด ที่เราต้องการคือ 20% ของ 1.5 barหรือ (20×1.5)/100 = 0.3 บาร์ ตามที่ต้องการอยู่ (0.098 bar < 0.3 bar) เมื่อเกษตรกรได้ขนาดท่อและการสูญเสียแต่ล่ะจุดมาแล้วก็ทำการคำนวณการสูญเสียรวมทั้งระบบเพื่อเป็น ค่าที่จะใช้เลือกขนาดของเครื่องสูบน้ำ โดยมีข้อกำหนดดังนี้
– H1= 0.61m
– H2=0.098m
– H3=3 m,การสูญเสียเนื่องจากระบบ ท่อดูด ข้อต่อ ข้องอ กรองและอุปกรณ์ต่าง ๆในระบบปั๊มน้ำ
– H4= 1.5bar = 15 m, การสูญเสียที่หัวจ่ายสเปร์ยที่ข้อกำหนดแรงดันที่หัวจ่าย 1.5 บาร์
– H5= 10% x ∆ Hรวม, การสูญเสียในข้อต่อ ข้องอ อุปกรณ์ต่าง ๆในระบบท่อส่งน้ำ ดังนั้น ∆H รวม = ∆H1+H2+H3+H4 =0.61+0.098+3+15 = 18.7m
– H5= 10% x 18.7= 1.87 m
จากภาพรวมในตอนนี้ ปัญหาอีกปัจจัยของเราคือใช้แท้งเก็บน้ำเป็นแหล่งน้ำ ในกรณีที่เราใช้บ่อเก็บน้ำมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเฮดปั๊ม เนื่องจากการลดระดับความสูง (Z) ของน้ำในบ่อเก็บน้ำมักน้อยเมื่อเทียบกับการคำนวณระบบ
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
แท้งเก็บน้ำที่ใช้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 10เมตร มีปริมาตร 7.85 ลบ.เมตร จำนวน 2 แท้ง ดังนั้น จึงมีน้ำจ่ายให้ระบบ 7.85×2=15.7 ลบ.เมตร และมีความดันที่ก้นถัง ประมาณ1บาร์ ที่น้ำเต็มแท้งและความดันที่ก้นถังจะลดลงเรื่องๆตามอัตราส่วนของความสูง เช่น ที่ระยะ 5 เมตร เหลือความดันก้นถัง ประมาณ 0.5 บาร์เป็นต้น
จะทำการคำนวณ ความสูงที่จุดระยะความสูงของถังที่ 5 เมตร ดังนั้น Z1 = 5 เมตร Z= (-5 )+0.5= -3.5 m /การสูญเสียเฮดปั๊มเนื่องจากความต่างระดับของท่อทางดูดกับหัวจ่ายสเปร์ย
เมื่อ ความสูงของ ปั๊มน้ำกับท่อ ไมโคร PE = 0.5 เมตร และ Z1= 5 เมตร หรือ (-5) ที่ความสูงมากกว่าทางด้านดูดมากกว่าท่อด้านจ่าย
H ปั๊มน้ำ= ∆ + ∆H5 + Z =18.7+1.87+(-3.5) = 17.07 m = 1.7 bar
สุดท้ายและเกษตรกรจะได้ข้อกำหนดมา 2 ตัวในการเลือกขนาดปั๊มน้ำดังนี้
เฮดปั๊ม (H) > 17 m , ปริมาณการจ่ายน้ำ (Q) > 16,000 ลิตร/ชั่วโมง =16 ลบ.เมตร/ชั่วโมง
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
จากภาพ เกษตรกรจะเห็นได้ว่า เลือกปั๊มน้ำไฟฟ้า รุ่น WCL-2205SF ขนาด 3 แรงม้า ขนาดท่อเข้า ท่อออก 3×3 นิ้ว ใช้ไฟฟ้า 220 V สามารถจ่ายน้ำที่ 18 ลบ.เมตร มีเฮดปั๊ม 19.1 m
- จากตัวอย่าง ในการออกแบบระบบการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ เกษตรกรจะเห็นได้ว่าในบางครั้งไม่ได้เลือกตามสูตรที่คำนวณมากนักทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความใกล้เคียงและประสบการณ์ของผู้ออกแบบระบบเป็นสำคัญ
- จากตัวอย่าง การคำนวณจะเห็นได้ว่าที่ระยะระดับน้ำในแท้งที่ความสูง 10 เมตร และ 5 เมตร มีผลต่อการคำนวณระบบน้อยมากเมื่อเทียบกับความดันที่หัวจ่ายสเปร์ย ที่เราต้องการ ในความเป็นจริงเกษตรกรสามารถที่จะ ใช้วาล์วน้ำเพื่อควบคุณการเปิด-ปิดเฉพาะจุดได้ เช่น เปิดครั้งล่ะ 4 แปลง ในกรณีนี้สามารถใช้ปั๊มน้ำขนาดเล็กลงได้มาก และประหยัดค่าไฟฟ้า แต่จากตัวอย่างคำนวณระบบมีข้อดีตรงที่เปิดครั้งเดียวครอบคลุมทั้งพื้นที่เกษตร 1 ไร่ และสามารถใช้ไทม์เมอร์ตั้งเวลารดน้ำอัตโนมัติได้อีกด้วย
2. การให้น้ำแบบระบบน้ำหยด
วิธีการแบบย่ออธิบาย VDO กดคลิกดูที่นี่ : การให้น้ำแบบระบบน้ำหยด
ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : ระบบการให้น้ำ ในพื้นที่ 1 ไร่
วิธีการ
- ติดตั้งระบบน้ำหยด เทปน้ำหยดยี่ห้อไหนดี การออกแบบระบบน้ำหยด ระบบน้ำหยด ราคาต่อไร่ อุปกรณ์ระบบน้ำหยด มีอะไรบ้าง อายุการใช้งานเทปน้ำหยด
- ระบบน้ำหยด เป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งจะติดตั้งไว้บริเวณโคนของต้นพืช และน้ำจะหยดซึมลงมาที่บริเวณรากพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับดินร่วนซุย ทำให้ดินมีความชุ่มชื่นคงที่ในระดับที่พืชต้องการ และส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
“ระบบน้ำหยด” คือระบบการปล่อยน้ำในปริมาณช้าๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการอย่างตรงจุด เทปน้ำหยด เหมาะสำหรับ ไร่อ้อย มันสำประหลัง ข้าวโพด แตงโม เมล่อน ฯลฯ
- ข้อดี ของการให้น้ำพืชด้วยระบบน้ำหยด คือ เทปน้ำหยดราคาถูก ความประหยัดด้วยการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะให้น้ำพืชในปริมาณที่พอเหมาะและตรงจุดหรือ ละแวกที่พืชต้องการ ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ส่วนวัชพืชที่ไม่ต้องการ ให้เจริญเติบโตนั้นก็จะขาด แคลนน้ำไปตามสภาพ เหมาะสำหรับพืชต้นเล็กถึงปานกลางหรือเกษตรกรบางรายก็ดัดแปลงท าเป็นวงกลมแล้ว เทปน้ำหยดปล่อยน้ำหยดหลายจุดให้กับพืชต้นเดียวสำหรับพืชยืนต้นที่มีลำต้นใหญ่และรัศมี รากกว้าง
- ข้อเสีย ของการให้น้ำพืชด้วยระบบน้ำหยดน้ำต้องสะอาด ต้องทำระบบกรองน้ำให้กับระบบ เพราะรูน้ำหยดอุดตันง่าย ปั๊มที่ใช้ต้องเป็นปั๊มที่มีแรงดันสูงเช่น ปั๊มรุ่น 4020 แรงดันสูงสุด 7.2 บาร์ เมื่อท่านวางระบบเรียบร้อยระวังอยู่ 2 อย่างคือ หนูนา กับไฟป่าให้ตรวจเช็คทุก ๆ อาทิตย์ ถ้าฝังดิน หนูจะกัดขาด
การเลือกซื้อเทปน้ำหยด
- 1. เทปน้ำหยด มีหลายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16,18,20,22 มิลลิเมตร โดยทั่วไปเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร จ่ายน้ำให้ได้ประมาณ 1,000 -1,500 ลิตร ต่อชั่วโมง
- 2. หัวน้ำหยดในเทป มีหลายรูปแบบ ให้ปริมาณน้ำได้ตั้งแต่ 0.5 – 2 ลิตร
- 3. ระยะความห่างของหัวน้ำหยด มีตั้งแต่ 10 – 60ซม.
- 4. ความหนาของผนังเทป มีตั้งแต่ 0.15, 0.20, 0.25, 0.30, 0.35 มิลลิเมตร
- 5. ประเภทหัวน้ำหยด มีแบบที่ปรับแรงดัน เพื่อให้ได้น้ำที่สม่ำเสมอในพื้นที่ที่มีความลาดชันแตกต่างกัน และไม่ปรับแรงดัน ส่วนใหญ่เป็นประเภทนี้ครับ
- 6. ความสม่ำเสมอของปริมาณน้ำคือ % ของปริมาณน้ำที่ออกตลอดทั้งเส้นทั้งหัวแปลงท้ายแปลง โดยทั่วไปต้องไม่น้อยกว่า 90-95 % ตามสเปก
- 7. แรงดันที่ใช้งาน คือ แรงดันที่ทำให้เทปน้ำหยดทำงานตามสเปกที่กำหนด ทั่วไปจะมีตั้งแต่ 0.3-1Bar (1 Bar = 10 เมตร)
ทั้งนี้การเลือกใช้เทปน้ำหยดมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงหลักๆ คือ
- พืชที่ปลูก
- ประเภทของดิน
- ลักษณะพื้นที่(สูงต่ำ)
- ความสม่ำเสมอ
- 4.1 พืชที่ปลูก พืชผัก ควรใช้ระยะห่าง 10 -20 ซม. , พืชไร่ 20 -60 ซม.
- 4.2 ประเภทของดิน ดินทรายควรจะใช้หัวที่ถี่ ดินเหนียวควรจะใช้หัวที่ห่าง
- 4.3 ลักษณะพื้นที่ ถ้าเป็นพื้นที่ที่มี slope มาก ควรจะมีวางสั้น พื้นที่ราบก็วางได้ตามสเปกของแต่ละยี่ห้อ
ส่วนการคำนวณว่าจะวางเทปยาวเท่าไหร่นั้นมีหลักเปรียบเทียบง่ายๆ เช่น
- ขนาดแปลงยาว 200 เมตร จะใช้เทปแบบไหนดี เปรียบเทียบเฉพาะปริมาณน้ำ กับระยะห่างเทปน้ำหยด หัวจ่าย 2 ลิตร/ชั่วโมง ระยะห่าง 60 ซม. ใช้มีหัวน้ำหยด 200/0.6= 333.33 หัว ให้ปริมาณน้ำได้ 667 ลิตร/ชั่วโมง เทปน้ำหยด หัวจ่าย 1 ลิตร/ชั่วโมง ระยะห่าง 30 ซม. ใช้มีหัวน้ำหยด 200/0.3= 666.67 หัว ให้ปริมาณน้ำได้ 667 ลิตร/ชั่วโมง
ตัวอย่างเทปน้ำหยด เทปน้ำหยดกลม
- – เส้นผ่านศูนย์กลางเทป: 16 มม.
- – ระยะห่างของรู: 10 ซม.
- – ความยาวเทปทั้งม้วน: 500 เมตร
- – ความหนาของเทป: 0.2มม
- – แรงดันน้ำ: 0.8- 1 บาร์
- – อัตราการไหลของน้ำ: น้ำออก 2.7 ลิตร / ชั่วโมง/ ต่อรู
- – เส้นผ่านศูนย์กลางเทป: 16 มม.
- – ระยะห่างของรู: 30ซม.
- – ความยาวเทปทั้งม้วน: 1,000 เมตร
- – ความหนาของเทป: 0.2มม.
- – แรงดันน้ำ: 0.8- 1 บาร์
- – อัตราการไหลของน้ำ: น้ำออก 2.7 ลิตร / ชั่วโมง/ ต่อรู
———————————————————————-
การให้ปุ๋ยบำรุงต้นกระท่อม
1. น้ำหมักชีวภาพและ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
“น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมัก” คือหัวใจสำคัญของการปลูกผักที่จะทำให้ผักในแปลงเติบโตงอกงาม มีรสชาติหวานกรอบอร่อย ซึ่งเจ้าของฟาร์มผักเล็ก ๆ หลายท่านยืนยันว่าปุ๋ยอินทรีย์ให้ประโยชน์มากมายจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้น้ำหมักชีวภาพสำหรับให้ปุ๋ยทางใบ และผสมปุ๋ยหมักเพื่อให้ทางดินน้ำหมักชีวภาพ คือปุ๋ยอินทรีย์อีกประเภทที่ได้รับความนิยมใหมู่คนปลูกมากกันมาก เหมาะสำหรับให้ปุ๋ยทางใบและทางดิน แบ่งตามประเภทวัตถุดิบที่ใช้หมัก 3 ชนิด คือ
- น้ำหมักชีวภาพ จากพืช แบ่งย่อยได้อีก 2 คือชนิดที่ใช้ผักและเศษพืช เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษพืช เศษผักจากแปลงเกษตรหลังการเก็บ เป็นน้ำข้นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม และชนิดที่ใช้ขยะเปียก เป็นน้ำหมักที่ได้จากขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ น้ำหมักที่ได้มีลักษณะข้นสีน้ำตาลจางกว่าชนิดแรก และมีกลิ่นหอมน้อยกว่า
- น้ำหมักชีวภาพ จากสัตว์ เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษเนื้อต่าง ๆ เช่น เนื้อปลาและเนื้อหอยจะมีสีน้ำตาลเข้ม มักมีกลิ่นเหม็นมากกว่าน้ำหมักผักและต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
- น้ำหมักชีวภาพ ผสม เป็นน้ำหมักที่ได้จากการหมักพืช และเนื้อสัตว์รวมกัน ส่วนมากมักเป็นแหล่งที่ได้จากเศษอาหารในครัวเรือนเป็นหลัก
“บำรุงต้น” ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี คิดค้น โดย รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
- ส่วนผสม : ฝรั่ง 64 กก., มะละกอ 8 กก., แตงไทย 8 กก., กากน้ำตาล 20 กก., น้ำ 20 ลิตร, สารเร่ง (พด.2) 2ซอง
- วิธีทำ : หั่นผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ใส่ถังหมักขนาด 120 ลิตร ละลายกากน้ำตาลในน้ำสะอาด 20 ลิตร ใส่ พด.2 คนให้เข้ากัน เทส่วนผสมทั้งหมดใส่ถังหมัก ปิดฝาถังให้แน่น เปิดฝาคนทุก ๆ 3 วัน เมื่อครบ 45วัน น ามากรองด้วยผ้ามุ้งสีฟ้า เอาเฉพาะน้ำจะได้น้ำหมักชีวภาพ 100 ลิตร
- วิธีใช้ : ใช้น้ำหมักผสมน้ำ ในอัตรา 1:500 รดผักจนถึงเก็บเกี่ยวทุกสัปดาห์ นำเมล็ดพันธุ์มาแช่จะงอกเร็วขึ้น 20-30% รากยาวกว่า ต้นกล้ายาวกว่าการงอกแบบธรรมดา
การผลิตน้ำหมักชีวภาพ ติดต่อสอบถามได้ที่ รศ.ดร. จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
น้ำหมักปลา สูตรกรมพัฒนาที่ดิน
ภาพแสดงประกอบ : น้ำหมักปลา สูตรกรมพัฒนาที่ดิน ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ “บ้านและสวน” รวมสูตรน้ำหมัก&ปุ๋ยหมัก สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ
“บำรุงต้น” บำรุงต้นก่อนออกดอกช่วยให้ออกดอกเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็ว ได้ผลผลิตปริมาณที่มากขึ้นและมีคุณภาพดี ลงทุนน้อย ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและสามารถผลิตไว้ใช้เองในครัวเรือน ไม้ผลจะมีรากแข็งแรง ใบสวย ใบใหญ่และยังปรับให้สภาพพื้นที่ดินดี ไม่เสียไม่เปรี้ยวด้วย
- ส่วนผสม : ปลาหรือเศษปลาหมัก 40 กก., กากน้ำตาล 20 กก., หัวเชื้อปุ๋ยหมักซุปเปอร์ พด.2 1 ถุง
- วิธีทำ : หัวเชื้อปุ๋ยหมักซุปเปอร์ พด.1 มาละลายในน้ำอุ่น 20 ลิตร ผสมลงในถังหมัก 200 ลิตร พร้อมปลาหมัก 40 กก. และกากน้ำตา 20 กก. เติมน้ำสะอาด 80% ของถังด้วยแผ่นไนล่อนป้องกันแมลงก่อนปิดฝา หมักไว้ประมาณ 25–30 วัน หมั่นคนอย่างน้อยวันละ 2–3 ครั้ง
- วิธีใช้ : พ่นทางใบ ใช้ปุ๋ยน้ำ 1 ลิตรต่อน้ำ 100-150 ลิตรปริมาณการพ่น 7-10 วัน/ครั้ง ใช้ราดลงดิน ราดโคน ใช้ปุ๋ยน้ำ 1 ลิตร ต่อน้ำ 50 ลิตรปริมาณการใช้อย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง หรือ 30-40 วัน/ครั้ง
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน สูตรลุงรีย์
ภาพแสดงประกอบ : ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน สูตรลุงรีย์ ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ “บ้านและสวน” รวมสูตรน้ำหมัก&ปุ๋ยหมัก สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ
วิธีทำ : โรยแกลบข้าวรองพื้นกะละมัง เทเศษผักหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ มูลวัวที่แช่น้ำไว้ก่อน และอาหารจากบ้านไส้เดือนอันเก่า รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยไส้เดือนลงดิน คลุมด้วยมุ้งพรางแสงสีดำ
คนล่าฝัน : ฟาร์มลุงรีย์ ฟาร์มไส้เดือนกลางกรุง
คนต้นแบบ : ฟาร์ม ‘ลุงรีย์’ เกษตรอินทรีย์ครบวงจร TNN24 ออกอากาศทางทีวีช่อง 16
———————————————————————-
“ศัตรูต้นกระท่อม” คือ แมลงพรัดหรือแมงจีนูน หนอนผีเสื้อกลำงคืน และเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เป็นต้น
1. แมงพลัดหรือแมงจีนูน
แมงพรัดหรือแมงจีนูน
ภาพแสดงประกอบ : แมงอีนูน จัดเป็นแมลงศัตรูพืช เพราะกัดแทะใบของพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจ อาทิ มะขามเทศ, มะขาม, อ้อย, มันสำปะหลัง, พุทรา เป็นต้น
แมงพรัดหรือแมงจีนูน
ภาพแสดงประกอบ : แมงอีนูน จัดเป็นแมลงศัตรูพืช มีรูปร่างอ้วนป้อมเป็นรูปไข่ หัวมันเรียบ มีหนวดแบบใบไม้ 1 คู่ที่ปาก ปากเป็นแบบปากกัด ตามีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัด
วิธีกำจัด : แมงพรัดหรือแมงจีนูน จะมีตามฤดูการ จะมีช่วงต้นหน้าฝน ประมาณ 2 เดือน ช่วงเดือน ปลายเมษายน- มิถุนายน วิธีกำจัด คือใช้ น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นใบให้ทั่ว อาทิตย์ล่ะ 3-4 ครั้ง
2. หนอนผีเสื้อกลางคืน
หนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรฐกิจจนได้รับความเสียหายร้ายแรง เพราะผีเสียกลางคืนจะวางไข่ทีล่ะจำนวนมาก 300-500 ฟอง เมื่อเจริญเติบโตเป็นหนอน หรือที่รู้จักกันดี เช่น หนอนกระทู้ ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์หนอนเหล่านี้ หนอนเหล่านี้ระบาดได้เป็นวงกว้าง และยังต้านทานสารเคมีอีกด้วย ทำให้กำจัดยาก เกษตรกรจึงควรเริ่มต้นด้วยการกำจัดตั้งแต่ที่ยังเป็นผีเสื้อดีที่สุดก่อนที่จะวางไข่และฝักเป็นตัวอ่อน
ภาพแสดงประกอบ : ผีเสื้อกลางคืน หนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจจนได้รับความเสียหายร้ายแรง
ภาพแสดงประกอบ : ผีเสื้อกลางคืน หนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจจนได้รับความเสียหายร้ายแรง
วิธีกำจัด : กับดักแบบใช้เหยื่อล่อ
ภาพแสดงประกอบ : กับดักแบบใช้เหยื่อล่อผีเสื้อกลางคืน หนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจจนได้รับความเสียหายร้ายแรง
ภาพแสดงประกอบ : กับดักแบบใช้เหยื่อล่อผีเสื้อกลางคืน หนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจจนได้รับความเสียหายร้ายแรง
3. เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง
ต้นตอ นั้นก็คือ มด ออกไปเสียก่อนเพลี้ยแป้งเคลื่อนไหวช้ามาก มดต้องคาบไปวางตามยอดไม้ แล้วคอยกินน้ำหวานที่เพลี้ยถ่ายออกมาเหมือนเราเลี้ยงวัวนม ถ้ากำจัดมด ได้ทำให้เพลี้ยหมดรถเดินทางเคลื่อนย้ายระบาดได้ยาก เพราะมดกับเพลี้ยเป็นสัตว์ที่พึ่งพาอาศัยกันตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออกไปทิ้ง
วิธีกำจัด :
- ใช้น้ำส้มสายชู 1 ฝา ผสมกับน้ำเปล่า 2-3 ลิตร พอให้เจือจาง นำไปผสมกับน้ำยาล้างจานอีกเล็กน้อย แล้วฉีดพ่นที่ตัวเพลี้ย ไม่นานเพลี้ยจะหายไปใช้พริก จะสดจะแห้งก็ได้ เอาเผ็ดๆ สักช้อน 1-2 ช้อนกาแฟน้ำยาล้างจาน แบบที่ไม่มีสารฟอก 1 ช้อนกาแฟ กระเทียมสด 1 หัวใหญ่หัวหอมสด 1 พอๆ กับกระเทียมปั่น , เติมน้ำให้ปั่นให้ทั่วได้เติมน้ำเกือบเต็มขวดน้ำอัดลม 2 ลิตร เอาของที่ปั่นแล้วเทลงไป หมักทิ้งไว้ 1 คืนกรอง แล้วเอาไปใช้ กับสเปรย์ได้เลยระวัง พวกผักใบอ่อน
- ใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ้น
———————————————————————-
วิธีการเก็บใบกระท่อม
ภาพแสดงประกอบ : การเก็บใบกระท่อมหรือการปลิดใบกระท่อมออกจากกิ่งแขนง มีผลต่อการแตกใบ
วิธีการเก็บใบกระท่อม
- การเก็บใบกระท่อมหรือการปลิดใบกระท่อมออกจากกิ่งแขนง มีผลต่อการแตกใบ เพื่อให้เก็บได้ในรอบต่อไป ชาวบ้านจะเก็บใบคู่ที่ 3 และคู่ที่ 4 โดยเว้นใบคู่ที่ 1-2 ไว้ เพื่อจะได้เก็บในรุ่นต่อไป ในอีก 10-15 วันต่อมา ฉะนั้นการเก็บใบพืชกระท่อมเพื่อทาเป็นยาจะเว้นเสียมิได้ในการคำนึงถึงรอบการเก็บเกี่ยวและปริมาณใบที่เก็บได้ในรอบปัจจุบัน และรอบต่อไป
- ประการสำคัญที่พึงต้องศึกษาก่อน คือ ปริมาณสารสำคัญในคู่ใบคู่ต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องนี้เชลลาร์ด (Shellard) และฮูสตัน (Houghton) ได้รายงานผลการศึกษาว่า ในใบพืชกระท่อมอ่อน พบน้อยมากใบพืชกระท่อมประกอบด้วย Alkaloid ประมาณ ร้อยละ 0.5 ในจำนวนนั้นเป็น Mitragynine เสียร้อยละ 0.25 ที่เหลือส่วนมากเป็นสเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine) สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) พบปริมาณน้อย และพบออกอินโดลแอลคาลอยด์ปริมาณน้อยมาก เชลลาร์ดและฮูส แห่งห้องปฏิบัติการ วิจัยเภสัชเวท วิทยาลัยเชลซี มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ศึกษาวิเคราะห์ปริมาณสารมิตรา กัยนีนในใบพืชกระท่อมที่เก็บในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2505-2513 พบว่าไม่ต่างกันมากนัก กล่าวคือ ปริมาณมิตรา กัยนีนเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ในแต่ละเดือนเพียง 30-50 mg โดย ในช่วงเดือนธันวาคม และเมษายน พบปริมาณมิตรา กัยนีนสูงสุดที่ 50 mg% ในแหล่งเพาะปลูกที่เดียวกัน ปริมาณมิตรา กัยนีนในใบมีความแตกต่างกัน
- ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ความชื้น สภาพดิน แสง อายุใบ และการบำรังรักษาต้นพืชกระท่อม ฯลฯ ฉะนั้นการเก็บใบกระท่อมเพื่อทำเป็นยานอกเหนือจะต้องคำนึงถึงปริมาณสารสำคัญที่เป็นอิทธิพลจาก ฤดูกาล ความชื้น สภาพดิน แสง อายุใบ และการบำรุงรักษา สิ่งที่จะเว้นเสียมิได้ คือ พิจารณาถึงคู่ใบที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่เก็บใบอ่อนคู่ที่ 2 และควรเก็บคู่ที่ 3 และคู่ที่ 4 เพื่อจะทำให้สามารถเก็บในรอบต่อไปได้ (4 ใบต่อกิ่งแขนง) และข้อที่ที่ควรคำนึงในการกำหนดรอบการเก็บเกี่ยว คือ จะต้องบำรุงรักษาให้ต้นพืชกระท่อมยืดข้อใบเป็นระยะเท่า ๆ กัน และต้องรักษาปลียอดมิให้ขาดหรือช้า ปริมาณใบที่เก็บได้เป็นจำนวนมากย่อมมาจากกิ่งแขนงที่มีจำนวนมากโดยได้สัดส่วนต่อกัน และจากการคำนวนปริมาณใบพืชกระท่อมในน้าหนัก 1 กิโลกรัม พบว่ามีจำนวนใบระหว่าง 500-600ใบ มีน้ำหนักใบสดเฉลี่ย 0.5 – 0.6 กรัม
———————————————————————-
วิเคราะห์รายได้ต่อ 1 ไร่
ภาพแสดงประกอบ : เตรียมเพื่อ ซื้อ-ขายจำหน่าย หลังจากการเก็บใบกระท่อมหรือการปลิดใบกระท่อมออกจากกิ่งแขนง
ปริมาณผลผลิต (ใบ) เมื่ออายุ 3 ปี ได้ผลผลิต (คำนวณขั้นต่ำ)
1 ต้น = 2 กก./ต้น (เก็บ 2 ครั้งต่อเดือน)
1 ไร่ จำนวน 100-150 ต้น = 200-300 กก. /เดือน
***ถ้าหากกิโลกรัมละ 150 บาท /กก. สวนจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ
ราคา = 150 บาท /กก.
น้ำหนักใบ 1 ไร่ = 300 x 150 = 45,000 บาท /เดือน
รายได้ 1 ปี สวนจะมีรายได้ต่อไร่ = 12 x 45,000 = 540,000 บาท /ปี (ยอดรายได้นี้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
***เนื่องจากเป็นพืชยืนต้นหลังเริ่มให้ผลผลิตแล้วใส่ปุ๋ยและดูแลรักษาจะเก็บใบขายได้ตลอดถึง 20 ปี หรือ มากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่..
———————————————————————-